วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เตือนภัยใกล้ตัว คนอยู่หอ

URL ของสถานี podbean



โฆษณา


โฆษณา


เตือนภัยใกล้ตัว คนอยู่หอ


มีเหตุผลหลายประการสำหรับการตัดสินใจเช่าห้องพักตามหอพัก หรืออพาร์ทเม้นต์ ทั้งความสะดวกในการเดินทางไปทำงาน-เรียน ราคาถูกกว่าเช่าบ้าน ทำความสะอาดง่าย หรือบางคนอาจจะมีเงื่อนไขในการตัดสินใจเลือกเพิ่มขึ้นอีก อย่างเรื่องความปลอดภัย ที่บางคนมองข้าม อาจจะเพราะความจำเป็น หรือต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย


      ค่าเช่าที่แพงขึ้นไม่มาก อาจแลกมาซึ่งความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ช่วยลดความเสี่ยง ป้องกันภัยร้าย เช่น การแลกบัตรเข้า-ออก กุญแจการ์ดที่อนุญาตให้เฉพาะผู้ถือบัตรเข้าอาคารได้ กล้องวงจรปิดที่บันทึกทุกความเคลื่อนไหว สามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ แต่ถ้าขาดการรักษาความปลอดภัยที่ควรจะมี บางทีเหตุร้ายอาจเกิดขึ้นได้โดยไม่คาดคิด

     อย่างในกรณีของนักศึกษาสาวคนหนึ่ง เช่าห้องพักที่หอซึ่งเธอยอมรับว่าขาดการรักษาความปลอดภัย แต่เธอก็เต็มใจเลือกเนื่องจากประหยัดค่าใช้จ่ายเป็นหลักหลายร้อย วันหนึ่งขณะที่เธอกำลังจะเดินทางไปเรียน เธอแต่งกายด้วยชุดนักศึกษาอย่างเรียบร้อย ลงลิฟท์ (ที่ไม่มีกล้องวงจรปิด)มาชั้นล่างเพียงคนเดียว ก่อนถึงชั้นล่าง ลิฟท์หยุดรับที่ชั้น 3 เมื่อประตูเปิดมีชายคนหนึ่งเดินเข้ามา เขาใช้มีดจี้ที่เอว บังคับห้ามไม่ให้เธอส่งเสียง

     เมื่อลิฟท์ลงมาถึงชั้นล่าง ไม่มีใครยืนรอใช้ลิฟท์ เขาจึงสั่งให้เธอกดลิฟท์ขึ้นไปชั้นบนสุด ขณะที่อยู่ในลิฟท์ เขาทำร้ายร่างกาย กระฉากกระเป๋าถือที่ในนั้นมีเงินสดจำนวนหนึ่ง โทรศัพท์มือถือ พร้อมกับลวนลามด้วยการจับหน้าอก เมื่อลิฟท์ขึ้นถึงชั้นบนสุด เขาฉุดกระฉากเธออกไปด้านนอก หวังจะพาเธอออกไปที่ดาดฟ้าเพื่อข่มขืน แต่โชคดีที่ประตูดาดฟ้าถูกล็อก เธอจึงถูกปล่อยตัวลงมา

     หลังจากนั้น เธอรีบลงมาชั้นล่าง แจ้งกับเจ้าหน้าที่หอพักให้แจ้งตำรวจ จนสามารถจับกุมคนร้ายได้

    หรือจะเป็นอีกกรณีที่เคยเป็นข่าว... คนร้ายตะเวนตามหอพัก โดยการเลือกห้องที่ไม่ได้ล็อกประตู แล้วเปิดเข้าไปขโมยของ หรือพยายามข่มขืนผู้หญิงที่อยู่ในห้อง ซึ่งตำรวจสามารถรวบตัวไว้ได้

      แม้กรณีที่กล่าวถึง คนร้ายจะถูกจับกุม และดำเนินคดี แต่เชื่อว่ายังมีคนร้ายอีกหลายรายที่ก่อเหตุแล้วยังลอยนวล ดังนั้น หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องพักอาศัยอยู่ตามหอพัก ควรเพิ่มความระมัดระวัง เช่น ล็อกประตู-หน้าต่างห้องให้แน่นหนา ไม่เปิดประตูรับคนแปลกหน้า โดยอาจเจาะช่องมองหรือตาแมวที่ประตู และหากหอพักค่อนข้างเปลี่ยวก็ไม่ควรเดินไปไหนมาไหนคนเพียงลำพัง ควรฝึกหรือศึกษาเทคนิคการต่อสู้ป้องกันตัวเอาไว้บ้าง.

วันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เตือนภัยสังคมโจร ATM

แก้ลำ! โจรเอทีเอ็ม ใช้ชิพแทนแม่เหล็ก (ไทยรัฐ)


      ยุคเทคโนโลยีติดจรวด เอทีเอ็ม นอกจากจะเป็นตู้กดเงินได้แล้ว ยังเป็นภัยสำคัญ กลายเป็นตู้ดูดเงินให้กลุ่ม มิจฉาชีพ หลายครั้งหลายครามีข่าวเตือนให้ระวัง...โจรไฮเทคดูดรหัส ไม่ว่าจะเป็นบัตรเอทีเอ็ม บัตรเครดิต ด้วยเครื่องมือทันสมัยนำไปถอนเงินจนเกลี้ยงบัญชี
จับตาวิธีไฮเทค...หลักๆแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ

         แบบแรก แอบติดตั้งกล้องขนาดจิ๋วซ่อนไว้ในจุดที่คาดไม่ถึง อาทิ กล่องใส่เอกสารบริการต่างๆ เมื่อลูกค้าเข้าไปกดบัตรเอทีเอ็ม กล้องจะบันทึกการกดรหัสเอาไว้ จากนั้นเป็นขั้นตอนต่อไป ที่จะต้องขโมยข้อมูลในบัตรให้ได้ด้วยการใช้เครื่องสแกนอ่านค่าในบัตรไปเก็บไว้ในหน่วยความจำ หรือใช้กลยุทธ์อื่นๆเพื่อให้ได้ข้อมูลมาทั้งหมด

        แบบที่สอง จะมีการสร้างเครื่องอ่านรหัสบัตรเอทีเอ็ม และเอาไปสวมไว้ที่ช่องเสียบบัตร โดยตกแต่งหน้าตาให้เหมือนกับเป็นส่วนหนึ่งของที่เสียบบัตร เมื่อลูกค้าเอาบัตรมาถอนเงิน เครื่องก็จะอ่านค่าทั้งหมดในบัตร เก็บเอาไว้อีกเช่นกัน สนนราคาเครื่องดูดรหัส...ไม่กี่พันบาท หาซื้อได้ในมาเลเซีย

        เทคนิคนี้ เรียกว่า สกิมมิ่ง คือการที่คนร้ายลักลอบใช้อุปกรณ์ขนาดเล็กสำหรับอ่านข้อมูลจากแถบแม่เหล็กบนตัวบัตร เพื่อคัดลอกข้อมูลส่วนตัวที่บันทึกในแถบแม่เหล็กบนบัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือบัตรเอทีเอ็ม จากนั้นจึงถ่ายโอนข้อมูลเหล่านั้นลงในบัตรปลอม

         เมื่อได้รหัสข้อมูลบัตรทั้งหมดแล้ว ก็จะเอารหัสทั้งหมดไปถ่ายโอนทำเป็นบัตรปลอม นำไปถอนเงินทั้งหมดที่มีอยู่ในบัญชีเงินฝากได้ทันที ประเด็นสำคัญ การโจรกรรมข้อมูลเอทีเอ็มแบบนี้ ถ้าผู้ใช้บริการไม่สังเกตให้ดีๆ จะไม่รู้เลยว่า อุปกรณ์ต่อพ่วงที่เสริมเข้ามาเป็นกลลวงของขบวนการขโมยข้อมูลบัตร

          ยุคเทคโนโลยีติดจรวด เอทีเอ็ม นอกจากจะเป็นตู้กดเงินได้แล้ว ยังเป็นภัยสำคัญ กลายเป็นตู้ดูดเงินให้กลุ่ม มิจฉาชีพ หลายครั้งหลายครามีข่าวเตือนให้ระวัง...โจรไฮเทคดูดรหัส ไม่ว่าจะเป็นบัตรเอทีเอ็ม บัตรเครดิต ด้วยเครื่องมือทันสมัย นำไปถอนเงินจนเกลี้ยงบัญชี แอบติดตั้งกล้องขนาดจิ๋วซ่อนไว้ในจุดที่คาดไม่ถึง อาทิ กล่องใส่เอกสารบริการต่างๆ เมื่อลูกค้าเข้าไปกดบัตรเอทีเอ็ม กล้องจะบันทึกการกดรหัสเอาไว้ จากนั้นเป็นขั้นตอนต่อไป ที่จะต้องขโมยข้อมูลในบัตรให้ได้ด้วยการใช้เครื่องสแกนอ่านค่าในบัตรไปเก็บไว้ในหน่วยความจำ หรือใช้กลยุทธ์อื่นๆเพื่อให้ได้ข้อมูลมาทั้งหมด จะมีการสร้างเครื่องอ่านรหัสบัตรเอทีเอ็ม และเอาไปสวมไว้ที่ช่องเสียบบัตร โดยตกแต่งหน้าตาให้เหมือนกับเป็นส่วนหนึ่งของที่เสียบบัตร เมื่อลูกค้าเอาบัตรมาถอนเงิน เครื่องก็จะอ่านค่าทั้งหมดในบัตร เก็บเอาไว้อีกเช่นกัน เมื่อได้รหัสข้อมูลบัตรทั้งหมดแล้ว ก็จะเอารหัสทั้งหมดไปถ่ายโอนทำเป็นบัตรปลอม นำไปถอนเงินทั้งหมดที่มีอยู่ในบัญชีเงินฝากได้ทันที ประเด็นสำคัญ การโจรกรรมข้อมูลเอทีเอ็มแบบนี้ ถ้าผู้ใช้บริการไม่สังเกตให้ดีๆ จะไม่รู้เลยว่า อุปกรณ์ต่อพ่วงที่เสริมเข้ามาเป็นกลลวงของขบวนการขโมยข้อมูลบัตร

วันพฤหัสบดีที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวเตือนภัยสังคม

แนะ 7 วิธี ป้องกันสาวๆ ถูกละเมิดทางเพศในงานปาร์ตี้ (ศูนย์เตือนภัยผู้หญิง)
       การเลี้ยงสังสรรค์ดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ และอาจมีการละเมิดทางเพศโดยการใช้ยาสลบ หรือยานอนหลับผสมในเครื่องดื่มได้ อย. จึงขอเตือนผู้หญิงว่า เมื่อได้รับยาสลบหรือยานอนหลับแล้วจะป้องกันตัวเองได้ยาก ทางที่ดีควรป้องกันตนเองโดยยึดหลัก 7 ไม่ คือ


1.ไม่ไปร่วมงาน คนเดียว ควรมีเพื่อนที่ไว้ ใจได้ไปด้วย


2.ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หากต้องดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ให้ดื่มพอประมาณ เพื่อให้มีสติอยู่ตลอดเวลา


3.ไม่รับเครื่องดื่มจากคนที่ไม่รู้จักดี หรือไม่สามารถเชื่อใจได้


4.ไม่ดื่มเครื่องดื่มแก้วเดียวกับผู้อื่น


5.ไม่ดื่มอย่างรวดเร็วเพราะหากเครื่องดื่มถูกใส่ยาลงไป จะได้มีเวลาที่จะระวังตัวได้ทัน


6.ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่อยู่ในภาชนะที่มีปากกว้าง เช่น อ่างใส่พั้นซ์ เพราะง่ายต่อการถูกใส่ยา หรืออาจถูกใส่ยาไปแล้ว


7.ไม่ควรละสายตาจากเครื่องดื่มของตน หากต้องเข้าห้องน้ำหรือออกไปเต้นรำ กลับมาแล้วควรเปลี่ยนแก้วใหม่ทันที


อย่างไรก็ตาม เมื่อดื่มเครื่องดื่มแล้วพบว่ารสหรือกลิ่นของเครื่องดื่มเปลี่ยนไป ควรหลีกเลี่ยงการดื่มต่อ และเมื่อดื่มแล้วมีอาการแปลก ๆ หรือรู้สึกเมาหลังจากดื่มไปได้เพียงเล็กน้อย ให้รีบขอความช่วยเหลือจากเพื่อนที่ไว้ ใจ ปฏิเสธความช่วยเหลือจากคนแปลกหน้า เพราะอาจจะเป็นคนที่ลอบวางยาได้

วันอังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวเตือนภัย

สธ.เตือน ระวัง 15 โรคร้าย มากับหน้าฝน










         รมว.สธ.เตือนคนไทยระวัง 15 โรคระบาดง่าย ในฤดูฝน ชี้อันตรายไม่แพ้หวัด 09 ปลัดฯ สธ.เผย เดือนเดียวตายแล้ว 13 ราย อธิบดีกรมควบคุมโรคแนะวิธีป้องกันตัวเบื้องต้น
        การระบาดของโรคไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ 2009 ชนิดเอ/เอช 1 เอ็น 1 ในไทยยังควบคุมไม่ได้มีผู้ติดเชื้อ และเสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สถานการณ์เช่นนี้ ทุกคนต้องดูแลตัวเองไม่ให้ ติดเชื้ออย่าปล่อยให้เป็นหน้าที่ของรัฐบาลฝ่ายเดียว ขณะเดียวกันในฤดูฝนนี้ ยังมีโรคอีกหลายชนิดสามารถแพร่ระบาดได้ง่าย รวดเร็วและมีโอกาสทำให้คนป่วยเสียชีวิตเช่นเดียวกับไข้หวัด 2009
       นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูฝนทำให้โรคหลายชนิดแพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็ว โดยเฉพาะ 15 โรคสำคัญ ที่ต้องเฝ้าระวังช่วงนี้ เช่น โรคไข้เลือดออก ฉี่หนู ไข้หวัดใหญ่ มาลาเรีย อุจจาระร่วงเฉียบพลัน บิด ไข้สมองอักเสบเจอี เยื่อบุตาอักเสบ หรือ ตาแดง ปอดอักเสบและไข้หวัดนก นอกเหนือจากไข้หวัด 2009 ที่เป็นโรคอุบัติใหม่
      รมว.สาธารณสุข กล่าวต่อว่า ตั้งแต่เดือน มิ.ย.-ส.ค.นี้ เป็นช่วง 90 วันอันตรายได้สั่งให้สาธารณสุขจังหวัดและโรงพยาบาลทุกแห่งเฝ้าระวังเป็นพิเศษให้แพทย์ตรวจคัดกรองผู้ป่วยโดยละเอียด รวมทั้งโรคที่ต้องติดตามและเฝ้าระวังต่อเนื่อง 2 โรค คือ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ซึ่งเป็นโรคระบาดใหม่และไข้หวัด นกที่มีแหล่งระบาดมาจากสัตว์ปีกหลังไม่พบติดเชื้อในคนมาเป็นเวลาเกือบ 3 ปีแล้ว แต่ประมาทไม่ได้
       นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค ได้ออกประกาศเตือนประชาชน ป้องกันโรคติดต่อที่เกิดในฤดูฝน ส่งให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ทั่วประเทศ ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ประชาชนในการป้องกัน โดยมี 5 กลุ่มรวม 15 โรค ได้แก่
1. กลุ่มโรคติดต่อของระบบทางเดินอาหาร ที่พบบ่อย ได้แก่ โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน บิด ไทฟอยด์ อาหารเป็นพิษ ตับอักเสบ สาเหตุเกิดจากกินอาหารดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค หรือ กินอาหาร สุกๆ ดิบๆ
2. โรคติดเชื้อผ่านทางบาดแผลหรือเยื่อบุผิวหนังที่พบบ่อย คือ โรคเลปโตสไปโรซิส หรือ ไข้ฉี่หนู อาการเด่น คือ ไข้สูงเฉียบพลัน ปวดศีรษะ มักปวดกล้ามเนื้อบริเวณน่องและโคนขาอย่างรุนแรงและตาแดง
3. กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจที่พบบ่อยได้แก่ โรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ คออักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบหรือปอดบวม อาการเริ่มจากไข้ ไอ หายใจเร็ว หรือ หอบเหนื่อย
4. กลุ่มโรคติดต่อที่เกิดจากยุง ที่สำคัญ 3 โรค คือ ไข้เลือดออก มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งกว่าร้อยละ 80 เป็นยุงลายที่อยู่ในบ้าน ไข้สมองอักเสบเจอี มียุงรำคาญ มักแพร่พันธุ์ในแหล่งน้ำตามทุ่งนาเป็นตัวนำโรค และโรคมาลาเรีย มียุงก้นปล่องที่อยู่ในป่า เป็นพาหะนำโรค
ทั้ง 4 โรคนี้ อาการเริ่มจากมีไข้สูง ปวดศีรษะมาก คลื่นไส้อาเจียน โดยเฉพาะโรคไข้สมองอักเสบ อาจทำให้พิการภายหลังได้
5. โรคเยื่อบุตาอักเสบหรือโรคตาแดง ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในน้ำสกปรกกระเด็นเข้าตา
         นอกจากนี้ นพ.ปราชญ์ ยังเปิดเผยถึงการเฝ้าระวัง 15 โรค ที่เกิดในฤดูฝน ตลอดเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิตแล้ว 13 ราย เสียชีวิตจากปอดบวม 8 ราย อุจจาระร่วงเฉียบพลัน 3 ราย ไข้เลือดออกและไข้สมองอักเสบ อย่างละ 1 ราย สถานการณ์โดยทั่วไปอยู่ในเกณฑ์ควบคุมได้ ขณะเดียวกัน ในช่วงหน้าฝนต้องระวังอีก 2 เรื่อง คือ ปัญหาน้ำกัดเท้าที่เกิดจากเชื้อรา สาเหตุเกิดจากการแช่น้ำสกปรกนานๆ และอันตรายจากสัตว์มีพิษ เช่น งู ตะขาบ แมลงป่อง ที่หนีน้ำมาอาศัยในบริเวณบ้าน
      ขณะที่ นพ.มล.สมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่าอาการนำของโรคติดเชื้อมีลักษณะเด่นหลักๆ คือ อาการไข้ ดังนั้น ช่วงนี้ หากมีไข้สูงและเช็ดตัวหรือกินยาลดไข้แล้วไม่ดีขึ้น หรือไข้ยังไม่ลดภายใน 3 วัน ต้องไปพบแพทย์ ไม่ควรซื้อยาปฏิชีวนะกินเอง โดยเฉพาะถ้าเป็นกับเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว
      กรมควบคุมโรค กล่าวต่อว่ายาลดไข้ต้องระมัดระวังการใช้กับโรคในฤดูฝน คือ ยาจำพวก แอสไพริน ห้ามกินอย่างเด็ดขาด เพราะมีอันตรายกับบางโรค ที่สำคัญ 3 โรคคือ โรคไข้เลือดออก โรคไข้หวัดใหญ่ และโรคไข้ฉี่หนู ซึ่งโรคดังกล่าว ทำให้มีเลือดออกตามอวัยวะต่างๆ ในร่างกายอยู่แล้ว หากได้รับยาแอสไพริน ซึ่งมีสารป้องกันเลือดแข็งตัวเข้าไปอีก จะทำให้เลือดออกได้ง่ายขึ้นทำให้เสียชีวิตได้ง่าย
       สำหรับการป้องกันโรคในฤดูฝนนั้น นพ.มล.สมชาย กล่าวว่า ขอให้ออกกำลังกายสม่ำเสมอ สวมเสื้อผ้ารักษาร่างกายให้อบอุ่น เพื่อให้ร่างกายมีภูมิต้านทานโรค รวมทั้งควรดื่มน้ำสะอาด รับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ๆ ไม่มีแมลงวันตอมและล้างมือฟอกสบู่ให้สะอาดก่อนรับประทานอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ